วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

1.ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) คืออะไร
            ISP      มาจากคำว่า      Internet Service Provider    ความหมายว่า   “ ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ”   ISP เป็นหน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก
ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ
              1. หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา ISP ที่เป็นหน่วยงานราชการ หรือสถาบันการศึกษา มักจะเป็นการให้บริการฟรีสำหรับสมาชิกขององค์การเท่านั้น
             2. บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั่วไป ISP ประเภทที่ให้บริการในเชิงพาณิชย์ ผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ ISP รายนั้นๆ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งอัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่กับ ISP แต่ละราย
2. ชื่อบริษัทที่ใช้ ISP
- CAT Telecom Public Co., Ltd.
บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
- Internet Thailand Public Company Limited
บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
- World Net & Services Co.,Ltd.
บริษัทแปซิฟิค อินเทอร์เน็ต (ประเทศไทย) จำกัด
- Jasmine Internet Co, Ltd.
บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนต จำกัด
- Anet Co.,Ltd.
บริษัท เอเน็ต จำกัด
- Samart InfoNet Co., Ltd.
บริษัท สามารถอินโฟเนต จำกัด
- Triple T Global Net
บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน)
- OTARO Company Limited
บริษัท โอทาโร จำกัด
- Internet Service Provider Co., Ltd. (ISSP)
บริษัท อินเตอร์เนต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัด
- PROEN   Internet Proimage Engineering and Communication Co., Ltd.
บริษัท โปรอิมเมจ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด
- CSLoxinfo
บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน)
- TOTWEB
บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
- CWN   Chomanan WorldNet. Name Inc
บริษัท ชมะนันทน์เวิล์ดเน็ต จำกัด
3.ความหมายของโมเด็ม  และหน้าที่ของโมเด็ม
โมเด็ม (อังกฤษ: modem ย่อมาจากคำว่า modulate and demodulate) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณอะนาล็อกให้อยู่ในรูปดิจิทัล และแปลงกลับในทิศทางตรงข้าม จุดประสงค์ของโมเด็มคือการสร้างสัญญาณอะนาล็อกที่ง่ายต่อการส่งข้อมูล และสัญญาณดิจิทัลที่ง่ายต่อการประมวลผล
อุปกรณ์หลายชนิดสามารถถือว่าเป็นโมเด็มได้ แต่โมเด็มประเภทที่แพร่หลายที่สุดคือโมเด็มที่แปลงเลข 0 และ 1 ซึ่งใช้ในคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณเสียงที่ส่งผ่านในสายโทรศัพท์แบบดั้งเดิม และทำหน้าที่แปลงสัญญาณเสียงกลับมาเป็นข้อมูลดิจิทัลในอีกด้านหนึ่งของผู้รับสัญญาณ
ปัจจุบันมีโมเด็มชนิดต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย เช่น เคเบิลโมเด็ม, ADSL โมเด็ม, โมเด็มที่ใช้รับสัญญาณไมโครเวฟ เป็นต้น
4.1 . อุปกรณ์ที่สำคัญ  lan  Card
            LAN Card คือ Card ที่จะติดตั้งภายในเครื่อง PC ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็ก เท่ากับ VGA Card หรือ Sound Card สำหรับ Lan Card ยังแบ่งออกได้หลายประเภท ทั้งนี้ขึ้นกับความเร็วที่ต้องการ เช่น 10 Mbps, 10/100 Mbps, 100 Mpbs เป็นต้น
4.2. ข้อดีข้อเสียของสายนำสัญญาณชนิดต่างๆ
1. สายคู่ตีเกลียว (Twisted-Pair Cable)
             เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด ประกอบด้วยสายทองแดงที่มีฉนวนหุ้ม 2 เส้น นำมาพันกันเป็นเกลียว จะใช้กันแพร่หลายในระบบโทรศัพท์ ความเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps ส่งได้ในระยะทาง 1 mile สายคู่ตีเกลียวสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
             1.1 สายคู่ตีเกลียวแบบไม่มีชิลด์ (Unshielded Twisted-Pair : UTP) เป็นสายเคเบิลที่ถูกรบกวนจากภายนอกได้ง่าย แต่ก็มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูงและราคาไม่แพง
              1.2 สายคู่ตีเกลียวแบบมีชิลด์ (Shielded Twisted-Pair : STP) เป็นสายที่มีปลอกหุ้มอีกรอบเพื่อ ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก จึงทำให้สายเคเบิลชนิดนี้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อในระยะไกลได้มากขึ้น แต่ราคาแพงกว่าแบบ UTP

ข้อดีและข้อเสียของสายคู่ตีเกลียว

ข้อดี
1. ราคาถูก
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3. ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย
1. ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2. ระยะทางจำกัด
2. สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
                สายโคแอกเชียลเป็นสายสัญญาณอีกแบบหนึ่ง จะประกอบด้วยลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 1 ชั้น แล้วจึงหุ้มด้วยทองแดงที่ถักเป็นแผ่น แล้วหุ้มภายนอกอีกชั้นหนึ่งด้วยฉนวน สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ ใช้ในระบบโทรทัศน์ ความเร็วในการส่งข้อมูล 350 Mbps ส่งได้ในระยะทาง 2-3 mile
ข้อดีและข้อเสียของสายโคแอกเชียล
ข้อดี
1. ราคาถูก
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3. ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย
1. ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2. ระยะทางจำกัด
3. สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable)
              ประกอบด้วยเส้นใยที่ทำมาจากใยแก้ว 2 ชนิด ชนิดหนึ่งจะอยู่ที่แกนกลาง ส่วนอีกชนิดหนึ่งอยู่ที่ด้านนอก ซึ่งใยแก้วทั้งสองจะมีดัชนีการสะท้อนแสงต่างกัน ทำให้แสงซึ่งถูกส่งออกมาจากปลายด้านหนึ่งสามารถส่งผ่านไปอีกด้านหนึ่งได้ ใช้สำหรับส่งข้อมูลที่ต้องการความเร็วสูง มีข้อมูลที่ต้องการส่งเป็นจำนวนมาก และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสัญญาณไฟฟ้ารบกวนมาก ความเร็วในการส่งข้อมูล 1 Gbps ระยะทางในการส่งข้อมูล 20-30 mile
ข้อดีข้อเสียของสายใยแก้วนำแสง
ข้อดี
1. ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
2. ไม่มีการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า
3. ส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก
ข้อเสีย
1. มีราคาแพงกว่าสายส่งข้อมูลแบบสายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล
2. ต้องใช้ความชำนาญในการติดตั้ง
3. มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงกว่า สายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล

5. เครือข่ายดิจิตอลความเร็วสูง
-  การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต  ด้วยโมเด็มและสายโทรศัพท์นั้น  มีข้อจำกัดในด้าน     
    ความเร็ว
- เทคโนโลยีที่ให้ความเร็วดีกว่าและเสียค่าใช้จ่ายไม่สูงนัก
• ADSL หรือ Asymmetric Digital Subscriber Line            เป็นเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงในบ้านเรา ซึ่งสำหรับ คออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั้งหลายจะต้องรู้จักกันดี สำหรับเทคโนโลยี ADSL นี้ทางผู้เขียนจะกล่าวในหัวข้อ ต่อไปนี้
            ADSL หรือ (Asymmetric Digital Subscriber Line) เป็นหนึ่งในสมาชิกของเทคโนโลยี XDSL และกำลังเป็นการ ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง รูปแบบใหม่ ที่มีความสามารถในการดาวน์โหลดข้อมูล (Downstream) ที่ความเร็วสูงสุดที่ 8Mbps และการอัพโหลดข้อมูล (Upstream) ที่อัตราความเร็ว สูงสุด 1Mbps โดยจะเน้นใช้โพรโตคอลแบบ TCP/IP เป็นหลัก และใช้พื้นฐานของ ATM จึงทำให้ ADSL สามารถรองรับกับแอพพลิเคชันลักษณะทางด้านมัลติมีเดียได้เป็นอย่างดี โดยจะมีการ Modulation หรือการเข้ารหัสสัญญาณเป็น 3 ช่วง ซึ่งได้แก่ ความถี่ในการรับข้อมูล ความถี่ในการส่งข้อมูล และความ ถี่ของสัญญาณโทรศัพท์ สำหรับทางด้านโทรศัพท์จะแบ่งรหัสสัญญาณข้อมูลเสียงโดยการแยกความถี่ของเสียงที่มีความถี่ไม่เกิน 4KHz ออกจากความถี่ของสัญญาณข้อมูลที่มีความถี่ตั้งแต่ 2MHz ฉะนั้นผู้ใช้จึงสามารถใช้งานโทรศัพท์ร่วมไปด้วย โดยไม่เกิด ปัญหาใดๆ ซึ่ง จะสามารถเป็นการประหยัดสำหรับผู้ที่อยากจะติดตั้งด้วย เพราะสามารถ ติดตั้งร่วมกับสายโทรศัพท์พื้นฐานที่บ้าน ได้เลย
• SDSL หรือ Symmetric Digital Subscriber Line             เป็นเทคโนโลยีที่สนับสนุน การรับส่งข้อมูลในแบบ Full-Duplex เหมือนกับ HDSL ที่สามารถทำความเร็วในการ รับส่ง ข้อมูลที่ 1.5Mbps ในระยะทาง 3 กิโลเมตร โดยการทำงานนั้นจะสนับสนุนสายแบบ T1/E1 ได้ด้วย
• HDSL หรือ High bit rate Digital Subscriber Line            เป็นเทคโนโลยีที่มีความนิยมมากในกลุ่มของผู้ใช้ในองค์กร หรือบริษัท โดยที่จะมี จุดเด่นก็ตรงที่จะทำงานการรับส่งข้อมูล ในแบบ Full-Duplex      ที่จะทำให้ความเร็ว หรือจำนวนของแบนด์--วิดท์ในการรับส่งที่เท่ากัน HDSL ยังสามารถ ใช้ร่วมกับสาย โทรศัพท์แบบ Twisted-pair เท่ากับสาย T1 ที่สามารถทำความเร็วในการรับส่งได้มากถึง 1.5Mbps ซึ่งในยุโรปสามารถทำ ความเร็วได้ถึงกว่า 2Mbps ในระยะทางกว่า 3.6 กิโลเมตร
• VDSL หรือ Very high bit rate Digital Subscriber Line            เทคโนโลยีนี้สามารถทำความเร็วในการรับส่งข้อมูลได้สูงที่สุดในสมาชิกของ    XDSL ทั้งหมด โดยการดาวน์โหลดข้อมูลจะ ได้ความเร็วสูงสุดที่   52    Mbps และการอัพโหลดข้อมูลที่ 2.3Mbps แต่จุดด้อยที่ทำให้ VDSL ไม่เป็นที่นิยมมากนักถึงแม้จะมี ความเร็วที่มากกว่าชนิดอื่นๆ ก็เพราะว่าระยะทาง ในการรับส่งข้อมูลความเร็วขนาดนั้นจะมีระยะทางได้แค่เพียง 1 กิโลเมตรเท่านั้น และราคาค่าติดตั้ง และใช้บริการก็สูงมาก

       *********************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น