วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

อินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต (Intranet and Extranet)
   เนื่องจากอินเทอร์เน็ตได้รับความสนใจและมีประโยชน์มากสำหรับองค์กรต่าง ๆ เพราะสามารถสื่อสารคนจำนวนมากเข้าด้วยกัน เพื่อเผยแพร่ข้อมูลโดยเสียค่าใช้จ่ายต่ำถึงแม้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้จะต่างรุ่นต่างแบบกัน ในอดีตองค์กรหลาย ๆ แห่งเสียค่าใช้จ่ายมหาศาลในการลงทุนกับเทคโนโลยีที่สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในองค์กร ซึ่งผลที่ได้บางครั้งก็ไม่น่าพอใจ  ด้วยเหตุที่องค์กรต่าง ๆ จึงได้นำเทคโนโลยีอินทราเน็ตเข้ามาใช้ เพื่อเป็นคำตอบสำหรับการสื่อสารข้อมูลภายในองค์กร โดยใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต
อินทราเน็ต (Intranet) หมายถึง เครือข่ายเฉพาะส่วนขององค์กรหรือหน่วยงานที่นำซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์แบบอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ อินทราเน็ตจึงเป็นเครือข่ายเพื่อระบบงานภายใน โดยมุ่งเน้นข้อมูลและสารสนเทศเพื่อบริการแก่บุคลากร โดยมีคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เป็นอินเทอร์เน็ตซอฟต์แวร์เพื่อให้บริการข้อมูลในรูปแบบเดี่ยวกับที่ใช้งานในอินเทอร์เน็ตและขยายเครือข่ายไปทุกแผนก ให้บุคลากรสามารถเรียกค้นข้อมูลและสื่อสารถึงกันได้
ประโยชน์ของอินทราเน็ต
1.เผยแพร่เอกสารที่ต้องการสื่อสารให้พนักงานทราบทางอินทราเน็ตโดยนำไปใส่ในเว็บ ซึ่งพนักงานสามารถเปิดดูได้ วิธีนี้สามารถประหยัดกระดาษและลดค่าใช้จ่ายได้มาก
2.ลดช่องว่างในการประสานงานระหว่างพนักงาน สามารถนำข้อมูลที่ต้องการให้ทีมงานออกความคิดเห็น รวบรวมการตอบสนองที่ได้มาประมวลผลได้ทันทีและสามารถสื่อสารความคืบหน้าของงาน ตามงาน และนัดเวลาประชุมได้โดย
3.ผ่านอินทราเน็ต
4.สามารถเชื่อมต่อระบบอินทราเน็ตกับฐานข้อมูล พนักงานสามารถค้นหาและสอบถามข้อมูลที่ต้องการได้ในทันที
5.ลดเวลาในการเรียนรู้ พนักงานใช้อินเทอร์เน็ตเป็นอยู่แล้วไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้ ลดค่าใช้จ่ายในการอบรม
ส่วนเอ็กทราเน็ต เป็นระบบเครือข่ายที่เกิดจากการประยุกต์ใช้อินทราเน็ต โดยขยายขอบเขตการใช้เครือข่ายจากภายในไปยังภายนอกองค์กร ซึ่งในปัจจุบันธุรกิจมักมีเครือข่ายกัน เช่น ระหว่างผู้ขายวัตถุดิบกับองค์กร หรือธุรกิจที่มีสามารถอยู่ห่างไกลกันคนละจังหวัด เป็นต้น
ประเภทของ E-Commerce
ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C)คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น
ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B) คือการค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป
ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C) คือการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น
ผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ (Business to Government – B2G) คือการประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่นการประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ http://www.mahadthai.com/

วิวัฒนาการบนอินเตอร์เน็ต
HTML
   HTML หรือ HyperText Markup Language เป็นภาษาคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ที่มีโครงสร้างการเขียนโดยอาศัยตัวกำกับ (Tag) ควบคุมการแสดงผลข้อความ, รูปภาพ หรือวัตถุอื่นๆ ผ่านโปรแกรมเบราเซอร์ แต่ละ Tag อาจจะมีส่วนขยายที่เรียกว่า Attribute สำหรับระบุ หรือควบคุมการแสดงผล ของเว็บได้ด้วยHTML เป็นภาษาที่ถูกพัฒนาโดย World Wide Web Consortium (W3C) จากแม่แบบของภาษา SGML (Standard Generalized Markup Language) โดยตัดความสามารถบางส่วนออกไป เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจและเรียนรู้ได้ง่าย และด้วยประเด็นดังกล่าว ทำให้บริการ WWW เติบโตขยายตัวอย่างกว้างขวางตามไปด้วย Tag
   Tag เป็นลักษณะเฉพาะของภาษา HTML ใช้ในการระบุรูปแบบคำสั่ง หรือการลงรหัสคำสั่ง HTML ภายในเครื่องหมาย less-than bracket ( < ) และ greater-than bracket ( > ) โดยที่ Tag HTML แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือTag เดี่ยวเป็น Tag ที่ไม่ต้องมีการปิดรหัส เช่น <HR>, <BR> เป็นต้น
Tag เปิด/ปิด
      เป็น Tag ที่ประกอบด้วย Tag เปิด และ Tag ปิด โดย Tag ปิด จะมีเครื่องหมาย slash ( / ) นำหน้าคำสั่งใน Tag นั้นๆ เช่น <B>…</B>, <BLINK>…</BLINK> เป็นต้น
เว็บเพจ คือ คำที่ใช้เรียกหน้าเอกสารต่างๆ ที่อยู่ในรูปแบบไฟล์ HTML (Hyper Text Markup Language) เปรียบเสมือนหน้ากระดาษแต่ละหน้าที่มีเรื่องราวต่างๆมากมายบรรจุอยู่ในนิตรสาร แต่แตกต่างกันตรงที่มีการเชื่อมโยง (Link) ซึ่งเราสามารถคลิกไปที่หน้าใดของโฮมเพจก็ได้
โฮมเพจ คือคำที่ใช้เรียกหน้าแรกของเว็บไซต์ ซึ่งประกอบไปด้วยเมนูต่างๆและเรื่องราวต่างๆมากมายคล้ายกับหน้าปกนิตรสารบ้านเรา ดังนั้นหากเราออกแบบหน้าโฮมเพจให้สวยงามและน่าสนใจ โอกาสที่ผู้ชมจะแวะเข้ามาเยี่ยมเยียนโฮมเพจของเราก็จะยิ่งมากตามไปด้วย
 WWW (World Wide Web)
    WWW หรือ Web ถูกสร้างขึ้นในปี 1989 ที่ CERN (The European Laboratory for Particle Physics) จากนั้นมามันก็เติบโตอย่างรวดเร็ว จนถึงปัจจุบันนี้ Web Traffic คิดเป็น 1/3 – ½ ของ Internet Traffic ทั่วโลก
    Web เป็นส่วนหนึ่งของ Internet ที่ใช้ Hypertext Transfer Protocol (HTTP) เพื่อแสดง Hypertext และรูปภาพ Hypertext หมายถึงการสร้างเอกสารแบบตัวหนังสือที่มีความสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารอื่น (Interlinked)
    คุณสามารถ Click ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของตัวหนังสือบนเอกสารเพื่อจะไปยังเอกสารอื่นๆ ได้ Web ถือกำเนิดบนพื้นฐานของแนวความคิดแบบ Hypermedia ครอบคลุม Hypertext นั่นคือคุณสามารถใช้ทุกอย่างของสื่อต่างๆ เป็นตัวเชื่อมโยงกับเอกสารอื่นๆ ได้หมด ไม่ว่าจะเป็น ตัวอักษร, รูปภาพ , เสียง , ภาพเคลื่อนไหว , และอื่นๆ
 Web Browser  คือโปรแกรมที่ใช้สำหรับเป็นประตูเปิดเข้าสู่โลก WWW (World Wide Web)  หรือพูดกันอย่างง่ายก็คือโปรแกรม
  ที่ใช้สำหรับเล่นอินเทอร์เน็ต     ที่เรานิยมใช้กันอยู่ทุกวันนี้ โดยเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser)  จะเข้าใจในภาษา HTML นี้คือเหตุผลว่าทำไมต้องใช้ภาษา HTML ในการสร้างเว็บเพจ เพราะโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์นั่นสามารถ เข้าใจ และสามารถทำงานตามคำสั่งของภาษา HTMLได้
   ฉะนั้นเมื่อนักเรียนเขียนเว็บเพจด้วยภาษา HTMLนักเรียนจะทราบว่าผลลัพธ์ของคำสั่งต่าง ๆ  นั่นทำงาน ถูกต้องหรือไม่อย่างไร ต้องใช้โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ เปิดดู ซึ่งโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมใช้ ในปัจจุบัน มีหลายโปรแกรม เช่น โปรแกรม Firefox , โปรแกรมInternet Explorer หรือโปรแกรม Netscape Comunicator แต่ส่วนมากนิยมใช้ โปรแกรม Internet Explorer หรือเรียกย่อ ๆ ว่า IE เพราะเป็นโปรแกรมที่มี มาพร้อมกับการติดตั้งระบบปฏิบันการวินโดวส์อยู่แล้ว ไม่ต้องไปหาโปรแกรมเพิ่มเติม
   URL The Uniform Resource Locators (URL) เป็นเสมือนที่อยู่ของเอกสารบนเว็บ ทุกๆ เอกสารจะต้องมี URL เป็นของตัวเอง แต่ละส่วนของ URL เป็นสิ่งที่ใช้ระบบข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้งของเอกสาร ตัวอย่างเช่น
http://www.xvlnw.com
http://www.xvlnw.com/index.php?name=download
      แต่ละ URL ประกอบไปด้วยส่วนพื้นฐาน 3 ส่วน คือ Protocol, Server Machine และ File Protocol ที่นิยมใช้ เช่น http:// , ftp:// , gopher:// , news://Server machine อาจเป็นชื่อเครื่อง หรือ เลข IP ก็ได้ หรือบางครั้งอาจมีเครื่องหมาย  : (Colon) ตามด้วยหมายเลข อยู่ต่อจาก Server machine เช่น proxy.chiangmai.ac.th:8080 เป็นต้น ซึ่งตัวเลขนั้นหมายถึง Port ที่ใช้ในการับส่งข้อมูลสำหรับ Web Server โดยปกติแล้ว  Port มาตรฐานของ Web Servers คือ 80 ซึ่งจะระบุหรือไม่ก็ได้
     File หากไม่มีการระบุชื่อไฟล์แล้ว Web Server จะมองหาไฟล์ที่ชื่อ index.html แล้วส่งไปให้ Web browser โดยอัตโนมัติ (หรือชื่ออื่นๆ ตามการกำหนดเงื่อนไขของแต่ละ  Web Server)
โปรโตคอล (Protocol) คือระเบียบพิธีการในการติดต่อสื่อสาร เมื่อมาใช้กับเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม จึงหมายถึงขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งรวมถึง กฎ ระเบียบ และข้อกำหนดต่าง ๆ รวมถึงมาตรฐานที่ใช้ เพื่อให้ตัวรับและตัวส่งสามารถดำเนินกิจกรรมทางด้านสื่อสารได้สำเร็จ
     การเชื่อมโยงหลายมิติ หรือ ไฮเปอร์ลิงก์ (อังกฤษ: hyperlink) นิยมเรียกโดยย่อว่า ลิงก์ (อังกฤษ: link) คือคำหรือวลีต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในเอกสารข้อความ ใช้สำหรับเปิดเอกสารอื่นที่เชื่อมโยงด้วยวิธีการคลิกลงบนคำหรือวลีนั้น โดยเฉพาะกับเว็บเพจซึ่งจะทำงานบนเว็บเบราว์เซอร์ ข้อความที่เป็นลิงก์มักจะปรากฏเป็นสีหรือรูปแบบที่โดดเด่นกว่าข้อความรอบ ข้าง ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถคลิกบนลิงก์เพื่อเปลี่ยนหน้าไปยังเว็บเพจที่ กำหนดไว้ แทนที่จะพิมพ์ในแถบที่อยู่ของเว็บเบราว์เซอร์โดยตรง
      ไฮเปอร์ลิงก์สามารถใช้เป็นการอ้างอิงภายในเอกสารข้อความหลายมิติ นอกจากนี้การคลิกบนลิงก์อาจเป็นการเรียกใช้งานสคริปต์ที่เขียนไว้โดยผู้ พัฒนาเว็บก็ได้
     IP Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด ตัวอย่าง IP Address 192.168.0.1? เป็นต้น
       การสื่อสารและรับส่งข้อมูลในระบบ Internet สิ่งสำคัญคือที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ จึ่ง ได้มีการกำหนดหมายเลขประจำเครื่องที่เราเรียกว่า IP Address และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและซ้ำกัน จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อ แจกจ่าย IP Address โดยเฉพาะ ชื่อองค์กรว่า InterNIC (International Network Information Center) อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา การแจกจ่ายนั้นทาง InterNIC จะแจกจ่ายเฉพาะ Network Address ให้แต่ละเครือข่าย ส่วนลูกข่ายของเครื่อง ทางเครือข่ายนั้นก็จะเป็น ผู้แจกจ่ายอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นพอสรุปได้ว่า IP Address จะประกอบด้วยตัวเลข 2 ส่วน คือ
-  Network Address
-  Computer Address
Bandwidth (แบนด์วิดท์) คือ คำที่ใช้วัดความเร็วในการส่งข้อมูลของอินเทอร์เน็ต ซึ่งโดยมากเรามักวัดความเร็วของการส่งข้อมูลเป็น bps (bit per second) , Mbp (bps*1000000) เช่น Bandwidth ของการใช้สายโทรศัพท์ในประเทศไทย เท่ากับ 14.4 Kbps,Bandwidth ของสายส่งข้อมูลของ KSC ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับอเมริกาเท่ากับ 2 Mbps เป็นต้น
     แต่ก่อนที่เราจะเข้าสู่บทความมารู้จักก่อนว่าอะไรคือ Bandwidth และ Latency ความหมาย Bandwidth คือ ความกว้างของช่องทางในการรับ-ส่งข้อมูล ส่วน Latency คือ เวลาที่ใช้ไปในการเข้าถึงข้อมูลของหน่วยความจำ เมื่อเรารู้ความหมายกันแล้วคราวนี้เรามารู้จักถึงหลักการต่างๆ ของ Bandwidth และ Latency
      ในการพิจารณาการรับ-ส่งข้อมูลบนระบบบัสหลายคนมักจะนึกถึง Bus Bandwidth (Bandwidth ก็คือความกว้างของเส้นทางในการส่งข้อมูล ที่เราสามารถเปรียบเทียบได้กับเลนถนน ยิ่งมีเลนกว้างเท่าไรรถยนต์ซึ่งเปรียบได้กับข้อมูลก็สามารถวิ่งได้สะดวกมาก ขึ้นเท่านั้น) ที่ใช้ในการรับ-ส่งข้อมูล ซึ่งพิจารณาจากข้อมูลที่รับ-ส่งบนระบบบัส Bus Bandwidth ด้วยปริมาณจำนวนข้อมูลของเลข single number (0 หรือ 1) ที่ระบบบัสสามารถรองรับได้ แต่ปริมาณข้อมูลของเลข single number อาจแปรผันได้ตามเวลา เราจึงพิจารณาการรับ-ส่งข้อมูลผ่านทาง Bus Bandwidth ด้วย Peak bandwidth Bus หรือ ความกว้างสูงสุดในการรับ-ส่งข้อมูลของบัส ซึ่งวัดด้วยจำนวนข้อมูลสูงสุดที่ รับ-ส่งกันระหว่างซีพียูและแรมภายในหนึ่งคาบเวล
        จากความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและซีพียูจากรูปที่ 1 ถ้าเรามาคำนวณหา Bandwidth ของบัสที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและซีพียู ที่สัญญาณนาฬิกา 100 เมกะเฮิรตซ์ โดยที่มีการรับ-ส่งข้อมูลจำนวน 8 ไบต์ในแต่ละหนึ่งรอบของสัญญาณนาฬิกา จะคำนวณออกมาได้ดังนี้
8 bytes * 100MHz = 800 MB/s
   และถ้าหากเราคำนวณหา Bandwidth ของบัสที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและซีพียูที่ 133 เมกะเฮิรตซ์ โดยที่มีการรับ-ส่งข้อมูลจำนวน 8 ไบต์ในแต่ละหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา จะคำนวณออกมาได้ดังนี้
8 bytes * 133MHz = 1064 MB/s
Domain Name ( โดเมนเนม ) คือ ชื่อเว็บไซต์ (www.yourdomain.com) ที่ท่านสามารถเป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น เพื่อการเรียกหาเว็บไซต์ที่ต้องการ ชื่อเว็บไซต์คือ สิ่งแรกที่แสดง หรือ ประกาศความมีตัวตนบนอินเตอร์เน็ตให้คนทั่วไปได้รู้จัก สามารถมีได้ชื่อเดียวในโลกเท่านั้น เช่น www.gict.co.th เมื่อผู้ใช้กรอกชื่อลงไปในช่อง Address ของ Internet Explorer ก็จะส่งชื่อไปร้องถามจากเครื่องแปลชื่อ โดเมน (Domain Name Server) และได้รับกลับมาเป็นไอพีแอดเดรส (Internet Protocol) แล้วส่งคำร้องไปให้กับเครื่องปลายทางตามไอพีแอดเดรส และได้ข้อมูลกลับมาตามรูปแบบที่ร้องขอไป
     Web1.0 ยุคแห่งการเริ่มต้น “ Read - Only” เป็นการกล่าวถึงลักษณะของการแสดงเนื้อหาและ การโต้ตอบกันระหว่างเจ้าของ เว็บไซต์กับผู้เข้าชมเว็บไซต์ในยุค web1.0 คือเว็บไซต์ ต่างๆที่นำเสนอข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ด้านต่างๆ ซึ่งจะส่งเนื้อหาต่างๆ ขึ้นหน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อนำเสนอผู้ที่มาเข้าชม ในทฤษฎีของการสื่อสารถือว่าเป็นการสื่อสารทางเดียว ( one - way cmomunication ) เพราะไม่มีการตอบรับจากผู้ที่ได้รับข้อมูล
     Web2.0ยุคแห่งการพัฒนาการและการเชื่อมโยง“ Read – Write” เป็นการกล่าวถึงลักษณะของ การแสดงเนื้อหาและการโต้ตอบกันระหว่างเจ้าของ เว็บไซต์กับผู้เข้าชมเว็บไซต์ในยุคWeb 2.0 มีลักษณะ เป็นการที่มีการแบ่งปันความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น มากกว่าที่จะเป็นเพียงการนำเสนอข้อมูลผ่านเว็บไซต์เพียงอย่างเดียว โดยผู้เข้าชมสามารถทำการแสดงความคิดเห็น หรือทำการสร้างเนื้อหาได้ อีกทั้งผู้เข้าชมยังสามารถกำหนดคุณค่าของเว็บไซต์หรือบทความผ่านกระบวนการ ต่างๆ เช่นการให้คะแนนเนื้อหา การแนะนำบทความให้กับผู้อื่นเป็นต้น
      Web3.0ยุคแห่งโลกอนาคต“ Read – Write – Execute” เป็นลักษณะของการแสดงเนื้อหาและการโต้ตอบกันระหว่างเจ้าของ เว็บไซต์และผู้เข้าชมเว็บไซต์ในยุค Web 3.0 ซึ่งมีลักษณะเป็นการที่ผู้ใช้สามารถอ่าน เขียน และทำการจัดการเนื้อหาและปรับแต่งแก้ไขข้อมูลหรือระบบได้อย่างอิสระ เว็บไซต์จะมี การพัฒนาให้กลายเป็นSemantic Web ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายของข้อมูลขึ้นมาเพื่อความสะดวก   ในการค้นหาและเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วคอมพิวเตอร์สามารถแสดงข้อมูลเฉพาะส่วนที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ได้






















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น