วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

ความหมายและความสำคัญของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

        ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อการค้าหรือ ISP (Internet Service Providers) ถือเป็นกระดูกสันหลังของอินเทอร์เน็ต ISP เป็นผู้บริหารจัดการคอมพิวเตอร์เครื่องหลักที่ใช้ต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตซึ่งเรียกกันว่า เซิร์ฟเวอร์ (Servers) เซิร์ฟเวอร์ถือเป็นจุดผ่านเข้าสู่อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ บริการทั้งหลายISP ให้บริการต่อสาย (dial-up access) เข้าไปสู่อินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงกลุ่มข่าว (newsgroups) อีเมล์หรือ ห้องสนทนา (chat) ได้ ผู้ใช้บริการสามารถ บันทึกข้อมูลแบบอัพโหลด หรือดาวน์โหลด โดยวิธีการต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต และ ISPเป็นผู้ให้บริการกลไกสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลเหล่านี้หากมีใครต้องการสร้างเว็บไซต์ของตนเอง ISP จะเป็นผู้จัดสรรเนื้อที่และให้ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต เพื่อช่วยให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ค้นหาข้อมูลได้อย่างถูกต้องเมื่อมีคนขอผ่านเข้าไปดูISP จะเป็นผู้กำหนดหมายเลขที่อยู่ไอพี (IP - Internet Protocol) ให้แก่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่ใช้บริการที่อยู่ไอพี (IP Address) นี้คือหมายเลขประจำตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ ที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ต และเป็นตัวบอกเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ว่าจะค้นหาคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ได้ที่ไหน ISP มีระบบเก็บบันทึก IP Address และชื่อที่อยู่ของสมาชิกที่ใช้บริการ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะสืบสาวไปถึงตัวนักล่อลวงเด็กทางอินเทอร์เน็ตได้ แม้ว่าผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่นิยมจ่ายค่าบริการโดยบัตรเครดิตหรือให้ส่งใบเสร็จรับเงินไปตามที่อยู่บ้าน ซึ่งทำให้ทราบหลักฐานของผู้ใช้บริการ แต่มีหลายครั้งที่ผู้ใช้บริการจำนวนมากก็ใช้ระบบการจ่ายล่วงหน้า หรือหลายคนใช้การส่งตั๋วแลกเงินหรือใช้การส่งเอกสารผ่านที่อยู่ทางตู้โปรษณีย์ ทำให้ไม่สามารถสืบค้นหลักฐานของผู้ใช้บริการได้ ดังนั้น การตรวจ เบอร์โทรศัพท์ที่โทรเข้าไปที่ IP Address และเวลาที่โทรจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการดำเนินการทางกฎหมายกับอาชญากรรมที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือล่อลวงเด็ก มีหลายประเทศที่เริ่มให้บริการอินเทอร์เน็ตโดยไม่คิดมูลค่า ไม่มีการคิดค่าต่อสาย มีเพียงเฉพาะค่าโทรศัพท์เท่านั้น บริการฟรีแบบนี้ไม่นิยมเก็บประวัติของผู้ใช้บริการเป็นหลักฐาน ดังนั้น จึงง่ายแก่การใช้หลักฐานปลอม ในกรณีที่มีการประกอบอาชญากรรมขึ้น ผู้รักษากฎหมายต้องอาศัยความร่วมมืออย่างเต็มที่จาก ISP เพื่อจับผู้ละเมิดกฎหมายซึ่งอาจเป็นผู้ใช้บริการที่อยู่ในเครือข่าย อย่างไรก็ตาม ISP อาจกลัวว่า หากเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการโดยไม่ได้รับอนุญาต จะเป็นการละเมิดต่อพันธกรรมที่มีต่อลูกค้า และอาจขัดกับหลักกฎหมายด้านสิทธิส่วนบุคคลด้วย หรือหมายถึงหน่วยงานที่บริการ ให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ของบริษัท เข้ากับเครือข่าย อินเทอร์เน็ตทั่วโลก เสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ถ้าผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ต้องการข้อมูลต่างๆ ก็สามารถติดต่อผ่าน ISP ได้ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง โดยการใช้บริการอินเตอร์เน็ต ผ่านผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตทั่วไป หลักการพิจารณา ISP นั้น ผู้เลือกใช้บริการ จำเป็นต้องศึกษาว่า ISP นั้นมีสายสัญญาณหลักที่เร็ว หรือมีประสิทธิภาพสูง มากเพียงใด มีสมาชิก ใช้บริการมากน้อยขนาดไหน เพราะปัจจัยต่างๆเหล่านี้ จะมีผลต่อความเร็ว ในการใช้อินเทอร์เน็ตด้วย
       โดยวิธีการสมัครสมาชิกนั้น เราสามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยัง ISP ที่ให้บริการต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถ เลือกรับบริการได้ 2 วิธี คือ
ซื้อชุดอินเทอร์เน็ต สำเร็จรูปตามร้านทั่วไปไปใช้
สมัครเป็นสมาชิกรายเดือน โดยใช้วิธีการติดต่อเข้าไปยัง ISPโดยตรง ซึ่งวิธีการ และรายละเอียด ในการให้บริการของแต่ละที่นั้น จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้บริการของ ISP รายนั้น ๆ จะกำหนด
       ในปัจจุบันผู้ให้บริการ Internet (ISP) ได้มีการพัฒนา การให้บริการ Internet จากเดิม 56 K เป็นระบบ ADSL ที่มีความเร็วสูงขึ้น เช่น 128 K, 256 K, 512 K , 1M หรือมากกว่า เช่น ISP Maxnet
ความหมายของโมเด็ม (Modems)
โมเด็ม (Modems)
       เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงานของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วยการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็มจะทำการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์
       คำว่า โมเด็ม(Modems) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน หมายถึง กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล็อกแล้วจึงแปลงสัญญาณกลับเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งเมื่อโมเด็มของคุณต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่นความแตกต่างของโมเด็มแต่ละประเภท
       โมเด็ม (อังกฤษ: modem ย่อมาจากคำว่า modulate and demodulate) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณอะนาล็อกให้อยู่ในรูปดิจิทัล และแปลงกลับในทิศทางตรงข้าม จุดประสงค์ของโมเด็มคือการสร้างสัญญาณอะนาล็อกที่ง่ายต่อการส่งข้อมูล และสัญญาณดิจิทัลที่ง่ายต่อการประมวลผล
        อุปกรณ์หลายชนิดสามารถถือว่าเป็นโมเด็มได้ แต่โมเด็มประเภทที่แพร่หลายที่สุดคือโมเด็มที่แปลงเลข 0 และ 1 ซึ่งใช้ในคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณเสียงที่ส่งผ่านในสายโทรศัพท์แบบดั้งเดิม และทำหน้าที่แปลงสัญญาณเสียงกลับมาเป็นข้อมูลดิจิทัลในอีกด้านหนึ่งของผู้รับสัญญาณ
        ปัจจุบันมีโมเด็มชนิดต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย เช่น เคเบิลโมเด็ม, ADSL โมเด็ม, โมเด็มที่ใช้รับสัญญาณไมโครเวฟ เป็นต้น

สายนำสัญญาณ TRANSMISSION LINES
         ในการรับส่ง สัญญาณ วิทยุนั้น สายนำสัญญาณก็มีความสำคัญ ไม่น้อยไปกว่า สายอากาศเลย การจะเลือกใช้สายนำสัญญาณ การจะเลือกใช้สายนำสัญญาณให้เหมาะสมกับงานนั้น ต้องศึกษาเรื่องของสายนำสัญญาณ ให้ดีก่อน สายนำสัญญาณ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. Balance Line คือสายนำสัญญาณ ที่มีตัวนำ 2 เส้น ทีมีลักษณะเหมือนกัน นำมาต่อขนานกัน โดยมีตัวกลางกั้นไว้อาจจะเป็นอากาศ ก็ได้ เช่นสายอากาศ Open wire จะมีฉนวนยึดสายเอาไว้เป็นระยะ เพื่อความแข็งแรง และคงลักษณะการขนานกันเอาไว้
สูตรการคำนวณ ค่า impedance ของสายนำสัญญาณแบบ Balance Line
ZO = ค่าimpedance ของสายนำสัญญาณแบบ Balance Line
S = ระยะห่างระหว่างตัวนำทั้งสอง (วัดจากแกนกลางของตัวนำ)
d = เส้นผ่านศูนย์กลางของลวดตัวนำ (ใช้หน่วยเดียวกับ S)
2.Unbalance Line คือสายนำสัญญาณที่มีตัวนำ 2 เส้น มีลักษณะต่างกัน หรือที่เรารู้จักกันดี ในนาม Coaxial Cable สายนำสัญญาณแบบนี้ถูกสร้างขึ้นมาทดแทนสายสัญญาณแบบ Balance Line เพื่อลดการแพร่กระจายคลื่น ออกจากสายนำสัญญาณ และบ้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีกว่า สามารถ ติดตั้งใกล้ ๆ โลหะได้
สูตรการคำนวณ ค่า impedance ของสายนำสัญญาณแบบ Unbalance Line
ZO = ค่าimpedance ของสายนำสัญญาณแบบ Unbalance Line
b = เส้นผ่านศูนย์กลางของชีลด์
a= เส้นผ่านศูนย์กลางของลวดตัวนำที่อยู่ตรงกลาง (ใช้หน่วยเดียวกับ b)
       ในการติดตั้งสายแบบ balance Line เราต้องป้องกันไม่ให้ความชื้น เกิดขึ้นบนสาย เพราะความชื้นทำให้ ค่าไดอิเล็คตริก เปลี่ยนแปลงไป จะทำให้ค่า impedance ของสายเปลี่ยนแปลงไปด้วย นอกจากนี้ การติดตั้งสายนำสัญญาณต้องห่างจากตัวนำหรือว่าโลหะอื่น ๆ โดยระยะห่างจากตัวนำอื่นประมาณ 2-3 เท่าของระยะห่างระหว่างตัวนำทั้งสอง สำหรับสาย Coaxial นั้นจะมีชีลด์ ต่อลงกราวด์ ฉนั้นการติดตั้งจึงไม่ค่อยมีปัญหา ติดตั้งใกล้โลหะได้ ปัญหาเรื่องความชื้นน้อยกว่า เว้นแต่ความชื้นจะเข้าไปในสาย สรุปได้ว่า สายแบบ balance จะมีการสูญเสียน้อย แต่สาย Coaxial จะติดตั้งง่ายกว่า
        ค่าความเร็วของคลื่นวิทยุในสายนำสัญญาณ (Velocity Factor) ในสายนำสัญญาณนั้น คลื่นวิทยุ เดินทางได้ช้ากว่า ในบรรยากาศ และช้ากว่า ความเร็วของแสง ซึ่งค่าความเร็วของคลื่นในสายนำสัญญาณนี้สำพันธ์กับค่าคงที่ของวัสดุทีนำมาทำเป็น Dielectric (Dielectric constant ) โดยทั่วไปแล้ว ค่าความเร็วของคลื่นในสาย เราเรียกว่า ตัวคูณความเร็วของสาย เช่น สาย เบอร์ RG- 58 A/U มีตัวคูณความเร็วเท่ากับ 0.66 ดังนั้นความเร็วของคลื่นในสาย คือ 0.66 X 300 ล้านเมตร / วินาที เท่ากับ 1.98 ล้านเมตร / วินาที
        สูตรการคำนวณค่าความเร็วในสาย (velocity factor) มีหน่วยเป็น ฟุต เมื่อสายนำสัญญาณนำมาใช้ปรกติ ตัวคูณความเร็วของสายแทบไม่ต้องสนใจ แต่ถ้านำสายสัญญาณมาต่อเพื่อ ขนานกับสายอากาศหลาย ๆ ต้น เข้าเป็นชุด เช่น การอากาศ ยากิ หลาย ๆ สแต็ก หรือสายอากาศ Dipole หลาย ๆ ห่วง (สาย phasing line) เราต้องนำความเร็วตัวนี้มาเกี่ยวข้องด้วย
ADSL
ADSL ( Asymmetric Digital Subscriber Line ) เป็นรูปแบบของ DSL ซึ่งกำลังจะมีการใช้งานอย่างกว้างขวางตามที่อยู่อาศัยและธุรกิจต่าง ๆ ADSL ได้รับการเรียกว่า “asymmetric (อสมมาตร) เพราะใช้การติดต่อแบบสองทางหรือ duplex bandwidth ได้มีการจัดแบ่ง bandwidth ส่วนใหญ่ให้กับการส่งข้อมูลไปยังผู้ใช้ปลายทาง ( downstream ) และมีเพียง bandwidth ส่วนน้อยในการรับข่าวสารจากผู้ใช้ปลายทางกลับมา ( upstream ) เนื่องจากว่าระบบอินเตอร์เน็ตและเว็บประเภทกราฟฟิคหรือมัลติมีเดีย มีความต้องการ bandwidth มากในการส่งไปยังผู้ใช้ แต่ผู้ใช้เรียกหรือตอบสนองไม่ต้องการ bandwidth มากนัก การใช้ ADSL สามารถส่งข้อมูลด้าน downstream ได้ถึง 6.1 megabits ต่อวินาที และรับข้อมูลด้าน upstream ได้ถึง 640 Kbps การใช้ bandwidth ด้าน downstream สูง หมายถึงสายโทรศัพท์ สามารถทำภาพเคลื่อนไหว เสียง และภาพ 3 มิติมายัง เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโทรทัศน์ได้ ส่วน bandwidth ขนาดเล็กที่มีการจัดแบ่ง เพื่อให้สามารถใช้โทรศัพท์ได้โดยไม่ต้องมีการแบ่งสาย
SDSL
SDSL ( Symmetric DSL ) เหมือนกับ HDSL โดยสายโทรศัพท์แบบ Twisted-pair สามารถส่ง 1.544 Mbps (เอเมริกาและแคนาดา) หรือ 2.048 Mbps (ยุโรป) และการจัดแบ่ง bandwidth ทั้ง 2 ทิศทางเท่ากัน
VDSL
VDSL (Very high rate DSL) เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะให้อัตราข้อมูลสูงในระยะสั้น (ระหว่าง 5.1 ถึง 5.5 Mbps ในระยะ 1000 ฟุต หรือ 300 เมตร) เทคโนโลยีการส่ง ( CAD, DMT หรืออื่น ๆ) ยังไม่มีข้อสรุป ส่วนมาตรฐานกำลังอยู่ในระหว่างการจัดทำ
HDSL
HDSL ( High bit-rate DSL ) เป็นประเภท DSL ล่าสุดที่มีการใช้กว้างขวางซึ่งสามารถใช้สำหรับการส่งแบบ wideband digital ภายในบริษัท และระหว่างศูนย์บริการกับผู้ใช้ คุณสมบัติหลักของ HDSL คือ มีความสามารถ ซึ่งหมายถึง bandwidth ที่ใช้ทั้ง 2 ทิศทางเท่ากัน ด้วยเหตุผลนี้อัตราข้อมูลส่ง จึงต่ำกว่า ADSL และ HDSL สามารถใช้สายโทรศัพท์ Twisted-pair เท่ากับสาย T 1 ในอเมริกาเหนือและ E 1 ในยุโรป (2 , 320 Kbps )
ความหมายของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
       ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Mail หรือที่เราเรียกกันอย่างสั้น ๆ ว่า E-mail ซึ่งเป็นการรับ-ส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) ไปยังผู้รับที่อาจจะอยู่ที่ใดก็ได้ในโลก การใช้งานอีเมล์ทาให้เราสามารถติดต่อกับผู้คนทั่วโลกได้ทันที โดยที่เราสามารถรับและตอบจดหมายกลับได้ภายในเวลาไม่กี่นาที ทาให้ผู้ใช้งานมีความสะดวกรวดเร็วและรู้สึกเพลิดเพลินกับการติดต่อสื่อสารกับผู้คนทั่วทุกมุมโลก จะสั้นหรือยาว การรับส่งอีเมล์ในระบบเครือข่ายจะเป็นไปอย่างถูกต้องได้นั้นจะต้องอาศัยที่อยู่ของทั้งผู้ส่งและผู้รับที่เรียกว่า อีเมล์แอดเดรส (E-Mail Address)” เป็นตัวอ้างอิง อีเมล์แอดเดรสนี้เป็นชื่อเฉพาะของผู้ใช้แต่ละคน ภายในชื่อนี้จะระบุว่าเป็นอีเมล์ของผู้ใช้รายใด ส่งมาจากระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แห่งใด เช่น webmaster@moe.go.th หมายถึงผู้ใช้ที่มีรหัสว่า webmaster จากระบบเครือข่าย moe.go.th จากชื่อของอีเมล์นี้ก็จะสามารถบอกได้ว่า เป็นจดหมายของ ผู้ใด ส่งมาจากที่ใดหรือประเทศใด เหมือนกับการส่งจดหมายทั่ว ๆ ไป
โทรสาร หรือ โทรภาพ (อังกฤษ: facsimile, fax แฟกซ์) คือเทคโนโลยีโทรคมนาคมอย่างหนึ่งใช้สำหรับโอนถ่ายข้อมูลสำเนาของเอกสาร ผ่านทางอุปกรณ์บนเครือข่ายโทรศัพท์ที่เรียกว่า เครื่องโทรสาร หรือ telecopier ในอุตสาหกรรมบางประเภท การส่งสำเนาเอกสารจากระยะไกลไปยังบุคคลหนึ่ง ข้อดีคือรวดเร็วกว่าการส่งทางไปรษณีย์ แต่ข้อเสียคือเอกสารที่ได้รับอาจมีคุณภาพต่ำ และรูปแบบที่จัดวางไว้อาจไม่ตรงตำแหน่งหรือผิดเพี้ยนไป ปัจจุบันโทรสารได้ลดความนิยมลงไป เนื่องจากนิยมส่งเอกสารทางอีเมลแทน ซึ่งจะไม่เกิดข้อเสียดังกล่าว
Voice Mail   คือข้อความเสียง เป็นระบบที่ช่วยเก็บเสียงพูด ของผู้ใช้โทรศัพท์ที่ติดต่อเข้ามาในเครื่องบันทึกเสียง จะมีการบันทึกเพื่อฝากข้อความเสียงไว้ ผู้เป็นเจ้าของสามารถที่จะเรียกข้อความเสียงนั้น ขึ้นมาฟังได้ โดยใช้โทรศัพท์จากที่อื่นเข้าไปในสำนักงานหรือศูนย์ที่ฝากข้อความแล้วขอฟังเสียงที่ผู้อื่นฝากไว้หรืออาจจะส่งเสียงนั้นต่อไปให้ผู้อื่นฟังก็ได้
การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)
         เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุม
การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPSs)
         เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย
กรุ๊ปแวร์(groupware)
         เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงานร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT)
         ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM
การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI)
          เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน
การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)
          เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น